วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2555
ส่วนประกอบหลักของคำสั่งต่างๆ
ส่วนที่ 1 Main Window
File สำหรับทำงานกับไฟล์รูปแบบต่างๆ
Add สำหรับเพิ่มหรือสร้างวัตถุในงาน 3มิติ
Timeline สำหรับใช้สร้างการเคลื่อนไหว
Game สำหรับสร้างเกมหรือทำงานเกี่ยวกับเกม
Render สำหรับควบคุมประมวลชิ้นงาน
Help รวบรวมวิธีการใช้งาน
ส่วนของ Screen selector เป็นโหมดที่แสดงรูปแบบของหน้าจอในการทำงาน ซึ่งเป็นรูปแบบสำเร็จรูปที่โปรแกรมจัดเตรียมไว้ให้เลือกใช้ โดยเราจะเลือกให้เหมาะสมกับการทำงานเพื่ออำนวยความสะดวก
สำหรับ Scene selector ใช้สำหรับเลือกซีนหรือฉากที่เราทำงานเนื่องจากไฟล์ชิ้นงานอาจมีหลายซีนเพื่อความสะดวกในการนำชิ้นงานมาทำงานร่วมกัน
ส่วนของ Information เป็นส่วนที่แสดงรายละเอียดของการทำงานในซีน ที่เราเห็นอยู่นั้นจะแสดงตามการทำงานของเราในขณะนี้
Ve: จำนวนจุด (Vertex) ที่มีในวิวพอร์ต ดังตัวอย่าง Ve:8 หมายความว่ามีจุด Vertex ที่เป็นส่วนประกอบของวัตถุในวิวพอร์ตอยู่ 8 จุด
Fa: จำนวนพื้นผิว (Face) ที่มีในวิวพอร์ต ดังตัวอย่าง Fa:6 หมายความว่ามีพื้นผิวที่เป็นส่วนประกอบของวัตถุในวิวพอร์ตอยู่ 6 พื้นผิว
Ob: จำนวนวัตถุที่มีในวิวพอร์ต ดังตัวอย่างมีค่า Ob:3-1 หมายความว่าในวิวพอร์ตมีวัตถุอยู่ทั้งหมด 3 ชิ้น และกำลังถูกเลือกอยู่ 1 ชิ้น
La: จำนวนของแสงที่มีในวิวพอร์ต ดังตัวอย่าง La:1 หมายความว่าในวิวพอร์ตมีแสงอยู่ 1 ดวง
ส่วนที่ 2 View port
เป็นส่วนสำคัญในการสร้างชิ้นงานทั้งการสร้างโมเดล ทำแอนิเมชั่น และการทำงานทุกๆอย่าง
ส่วนของวิวพอร์ตสำหรับสร้างชิ้นงาน
ส่วนที่ 3 Buttons Window
เป็นส่วนที่รวบรวมเครื่องมือในการทำงานเอาไว้โดยอ้างอิงกับวัตถุที่เราเลือกในขณะนั้น
ส่วน Buttons window ที่รวบรวมเครื่องมือในการทำงาน
การจัดการกับมุมมอง
เราสามารถควบคุมพิ้นที่ในการทำงานของเราด้วยเม้าส์ และแป้นคีย์บอร์ด เพื่อให้สะดวกในการทำงานมากขึ้น
Scroll up = zoom in
Scroll down = zoom out
Middle = หมุนมุมมองตามการเคลื่อนที่ของเม้าส์
Shift + Scroll up = เลื่อนภาพขึ้น
Shift + Scroll down = เลื่อนภาพลง
Ctrl + Scroll up = เลื่อนภาพไปทางขวา
Ctrl + Scroll down = เลื่อนภาพไปทางซ้าย
การใช้งานโปรแกรม Blender
ผมจะอธิบายการใช้งานของโปรแกรมโดยจะสร้างเป็นผลงานของผมเองหลังจากที่ได้ศึกษาโปรแกรมมาพอสมควร
ผมสร้างเป็นโมเดล 3D ที่ผมออกแบบขึ้นมา
ทำการเปิดโปรแกรม Blender ขึ้นมาครับ
หลังจากเปิดโปรแกรมขึ้นมาแล้วก็ กดTabเพื่อเข้าสู่โหมด Edit
แล้วก็ทำการลบ Plane โดยกดปุ่ม Delete ที่คีย์บอร์ด แล้วก็ เลือกที่ Vertices แล้วกด Enter
จากนั้นคลิกที่ View แล้วเลือก Front หรือกดที่เลข 1 บนคีย์บอร์ด
ขั้นตอนต่อไป ก็จะเป็นการร่างโมเดล ให้กด Ctrl + คลิกซ้าย เพื่อทำการร่าง ร่างได้ตามอิสระของเรา
หลังจากนั้นก็คลิกขวาที่จุดสุดท้าย และจุดเริ่มต้น แล้วก็กด Space bar เลือกที่ Transform < Properties หรือกด N ที่คีย์บอร์ด กด Shift ค้าง แล้วก็เปลี่ยนค่าตรงแกน x ให้เป็น 0 แล้วก็กด Enter ทำเหมือนกันทั้งจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุด
เมื่อทำตามขั้นตอนที่ผ่านมาเรียบร้อยแล้ว ก็กดเลือกทั้งหมด โดยกด A ที่คีย์บอร์ด
ตั้ง View ไว้ที่ Top หรือกด 7 ที่คีย์บอร์ด
เมื่อได้มุมมอง Top ที่เราต้องการแล้ว ก็ทำการปรับค่าที่ Mesh Tools ในส่วนของ Buttons window
เมื่อตั้งค่าเสร็จแล้ว ก็คลิกที่ Spin
เมื่อเรากด Spin แล้วก็จะได้งานของเราอยู่ในรูปแบบ 3D
เราสามารถปรับความละเอียดของตัวงานได้โดยเข้าไปที่ Add Modifiers < Subsurf แล้วก็ปรับที่ Level
เมื่อเราทำตามขั้นตอนเสร็จทุกอย่างแล้วก็สามารถดูงานจริงได้ที่ กด F12
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น